"อมตะฯ" เซ็นสัญญาดึงผู้ผลิตรถจักรยานยนต์จีน-ยุโรป 4 ค่ายปักหลัก ตั้งฐานผลิตในนิคมอมตะฯกว่า 200 ไร่ เล็งดึงซัพพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนจักรยานยนต์เข้าลงทุนเพิ่ม ตั้งเป้ารวมกลุ่มคลัสเตอร์ในระยะยาว พร้อมดันไทยขึ้นสู่ศูนย์กลางการผลิตในตลาดโลก
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้มีการเซ็นสัญญากับบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ชั้นนำ 4 ราย โดยมาจากประเทศยุโรป 2 ราย และจีน 2 ราย เพื่อเข้ามาใช้พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี บนพื้นที่กว่า 200 ไร่ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เป็นการตั้งโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปขนาดใหญ่ (super bike) พร้อมจำหน่ายในประเทศและส่งออก โดยนอกจากนี้บริษัทยังอยู่ในระหว่างการเจรจากับผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ค่ายยุโรปอีก 1 ราย คาดว่าจะสรุปผลได้ในเร็ว ๆ นี้
"เห็นได้ว่าสัญญาณของเศรษฐกิจไทยเริ่มเป็นบวกมากขึ้น จากการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนในขณะนี้ แม้ว่าจะมีปัญหาการเมืองอยู่บ้างแต่นักลงทุนยังมั่นใจด้วยศักยภาพการลงทุนในไทยที่จัดว่าเป็นฐานผลิตที่มีความแข็งแกร่งในภูมิภาคอาเซียน และการมีแรงงานที่มีศักยภาพ รวมทั้งการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาบุคลากรขั้นสูง เพื่อเร่งป้อนแรงงานระดับฝีมือเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น อาทิ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกระทรวงอุตสาหกรรม"
หลังจากที่บริษัทยักษ์ใหญ่ตัดสินใจ เข้ามาลงทุนในพื้นที่นิคมอมตะฯ บริษัทได้เตรียมแผนการดำเนินงานในการเจรจา ดึงบริษัทซัพพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนจักรยานยนต์ให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่นิคมอมตะฯเพิ่มเติม โดยมีเป้าหมายป้อนชิ้นส่วนและอะไหล่ให้กับบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่มอีกในอนาคต และ จะเร่งผลักดันให้พื้นที่การลงทุนของ อมตะฯเข้าสู่การลงทุนที่สมบูรณ์แบบมีความเชื่อมโยงเป็นกลุ่มคลัสเตอร์มากขึ้น ซึ่งจะทำให้อมตะก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคอาเซียนและทั่วโลก
อย่างไรก็ดี ขณะนี้พื้นที่นิคมอมตะฯ เป็นพื้นที่มีศักยภาพในการเป็นฐานผลิตอะไหล่รถจักรยานยนต์ที่ได้มาตรฐานและตรงความต้องการของลูกค้า พร้อมที่จะป้อนสู่โรงงานในนิคมได้อย่างเพียงพอ ทั้งการผลิตรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่รุ่นพิเศษ และรถจักรยานยนต์ขนาดทั่วไป
ทั้งนี้ บริษัทมั่นใจว่าสถานการณ์ที่ดีขึ้นและการกลับเข้ามาของนักลงทุน จะส่งผลให้อมตะฯสามารถทำยอดขายที่ดิน ในปี 2553 เป็นไปตามเป้าหมาย 900 ไร่อย่างแน่นอน โดยปัจจุบันนักลงทุนที่เข้า มาลงทุนในนิคมส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุน ญี่ปุ่นกว่า 60% และ 30% เป็นนักลงทุนไทยและส่วนที่เหลือก็กระจายตัวกว่า 20 ประเทศ
เพิ่มเติม http://www.prachachat.net
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้มีการเซ็นสัญญากับบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ชั้นนำ 4 ราย โดยมาจากประเทศยุโรป 2 ราย และจีน 2 ราย เพื่อเข้ามาใช้พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี บนพื้นที่กว่า 200 ไร่ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เป็นการตั้งโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปขนาดใหญ่ (super bike) พร้อมจำหน่ายในประเทศและส่งออก โดยนอกจากนี้บริษัทยังอยู่ในระหว่างการเจรจากับผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ค่ายยุโรปอีก 1 ราย คาดว่าจะสรุปผลได้ในเร็ว ๆ นี้
"เห็นได้ว่าสัญญาณของเศรษฐกิจไทยเริ่มเป็นบวกมากขึ้น จากการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนในขณะนี้ แม้ว่าจะมีปัญหาการเมืองอยู่บ้างแต่นักลงทุนยังมั่นใจด้วยศักยภาพการลงทุนในไทยที่จัดว่าเป็นฐานผลิตที่มีความแข็งแกร่งในภูมิภาคอาเซียน และการมีแรงงานที่มีศักยภาพ รวมทั้งการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาบุคลากรขั้นสูง เพื่อเร่งป้อนแรงงานระดับฝีมือเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น อาทิ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกระทรวงอุตสาหกรรม"
หลังจากที่บริษัทยักษ์ใหญ่ตัดสินใจ เข้ามาลงทุนในพื้นที่นิคมอมตะฯ บริษัทได้เตรียมแผนการดำเนินงานในการเจรจา ดึงบริษัทซัพพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนจักรยานยนต์ให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่นิคมอมตะฯเพิ่มเติม โดยมีเป้าหมายป้อนชิ้นส่วนและอะไหล่ให้กับบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่มอีกในอนาคต และ จะเร่งผลักดันให้พื้นที่การลงทุนของ อมตะฯเข้าสู่การลงทุนที่สมบูรณ์แบบมีความเชื่อมโยงเป็นกลุ่มคลัสเตอร์มากขึ้น ซึ่งจะทำให้อมตะก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคอาเซียนและทั่วโลก
อย่างไรก็ดี ขณะนี้พื้นที่นิคมอมตะฯ เป็นพื้นที่มีศักยภาพในการเป็นฐานผลิตอะไหล่รถจักรยานยนต์ที่ได้มาตรฐานและตรงความต้องการของลูกค้า พร้อมที่จะป้อนสู่โรงงานในนิคมได้อย่างเพียงพอ ทั้งการผลิตรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่รุ่นพิเศษ และรถจักรยานยนต์ขนาดทั่วไป
ทั้งนี้ บริษัทมั่นใจว่าสถานการณ์ที่ดีขึ้นและการกลับเข้ามาของนักลงทุน จะส่งผลให้อมตะฯสามารถทำยอดขายที่ดิน ในปี 2553 เป็นไปตามเป้าหมาย 900 ไร่อย่างแน่นอน โดยปัจจุบันนักลงทุนที่เข้า มาลงทุนในนิคมส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุน ญี่ปุ่นกว่า 60% และ 30% เป็นนักลงทุนไทยและส่วนที่เหลือก็กระจายตัวกว่า 20 ประเทศ
เพิ่มเติม http://www.prachachat.net
0 comments:
Post a Comment